อันตรายจากไขมันทรานส์ ศัตรูตัวร้ายจ้องทำลายสุขภาพ

ไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์ ทำไมใคร ๆ ก็บอกให้ควรหลีกเลี่ยง

เป็ดฟินิกซ์เชื่อว่า เพื่อน ๆ ทุกคน น่าจะเคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนาม (ด้านลบ) ของเจ้าไขมันชนิดนี้มาบ้าง ครั้งนี้พี่ปีนิกซ์จะมาอธิบายให้เพื่อน ๆ ฟังว่า“ไขมันทรานส์” นั้นเป็นตัวร้ายของวงการสุขภาพจริงหรือไม่

ก่อนอื่น อยากเพื่อน ๆ ลองช่วยเป็ดฟินิกซ์คิดทีว่า ปกติแล้วเราจะพบไขมันชนิดนี้ได้จากที่ไหนบ้าง ?

ขนม เบเกอรี่ เครื่องดื่ม

หลายคนน่าจะมีคำตอบแบบเดียวกับเป็ดฟินิกซ์ แล้วถ้าขนม เบเกอรี่ เครื่องดื่ม มีไขมันทรานส์
แล้วนั่นหมายถึง เราไม่ควรทาน ขนม เบเกอรี่ เครื่องดื่มไปเลยหรือเปล่า

เดี๋ยวเป็ดฟินิกซ์จะพาเพื่อน ๆ มาดูคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะ

ไขมันทรานส์ คือ อะไร

ไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็น กรดไขมันอิ่มตัว  สามารถพบได้ทั้งตามธรรมชาติและก็เกิดจากการที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น

  • ชนิดที่พบตามธรรมชาติ (natural trans fat) พบได้จากสัตว์กินพืช เช่น วัว แพะ แกะ วัว และควาย เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถพบไขมันชนิดนี้ได้จากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของสัตว์เหล่านี้ด้วย ทั้ง เนย นม ชีส เป็นต้น แต่ว่าไขมันทรานส์ที่พบตามธรรมชาติจะค่อนข้างมีน้อย เช่น ในนมมีไขมันทรานส์เพียง 2-5 % ในพวกเนื้อวัว เนื้อแกะมีไขมันทรานส์เพียง 3-9 % เท่านั้น
  • ชนิดที่มนุษย์สังเคราะขึ้น (artificial trans fat) เป็น กรดไขมันอิ่มตัว ได้มาจากการแปรรูป กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ผ่านกระบวนการเติมสารที่มีชื่อว่า “ไฮโดรเจน” เข้าไป  เพื่อทำให้น้ำมันที่ปกติอยู่ในสถานะของเหลว เปลี่ยนสภาพเป็น ไขมัน ซึ่งอยู่ในสถานะของแข็งกึ่งเหลว เช่น พบในเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม  มาร์การีน เป็นต้น

ลำดับต่อไปเราจะมาดูกันนะคะว่าทำไมไขมันทรานส์ถึงก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายได้

เพราะอะไรจึงต้องผลิตไขมันทรานส์ขึ้นมา

จริง ๆ แล้วไขมันทรานส์ก็พบได้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว หลายคนคงอดสงสัยไม่ได้ว่าเพราะอะไรจะต้องผลิตขึ้นมาด้วย

สาเหตุก็เป็นเพราะไขมันทรานส์ที่สังเคราะห์ขึ้นมานั้นเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป
จะมีอายุการใช้งานที่นานกว่าไขมันทรานส์จากธรรมชาติ

เก็บได้นานโดยไม่ต้องแช่ในตู้เย็นและไม่เหม็นหืน ทั้งยังทนกับอุณหภูมิที่สูงได้
เรื่องรสชาติก็ไม่แตกต่างจากไขมันที่มาจากธรรมชาติมากนัก

ที่สำคัญที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้นเรื่องของราคาที่ถูก
จึงทำให้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมด้านอาหาร ขนม เบเกอรี่มากมาย

ทำไมถึงประกาศห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายไขมันทรานส์

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

คำสำคัญ: ประกาศฯ ฉบับนี้

“ห้ามการผลิต นำเข้า จำหน่าย PHOs ซึ่งเป็นแหล่งหลักของไขมันทรานส์ แต่มิได้ห้ามตรวจพบไขมันทรานส์ในอาหาร”

เมื่อไม่กี่ปีก่อนได้มีประกาศเกี่ยวกับการห้ามผลิตและนำเข้าไขมันทรานส์หรือเรียกอีกอย่างว่า “แบนไขมันทรานส์”

มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2562 ว่าไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

นอกจากนี้ เมื่อ พ.ศ. 2556 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US Food and Drug Administration) ได้ออกประกาศเตือนเกี่ยวกับว่าเป็นไขมันที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ทั้งยังให้ผู้ผลิตอาหารต่าง ๆ ต้องระบุปริมาณไขมันทรานส์บนฉลากผลิตภัณฑ์ด้วย

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะได้มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากมายได้ออกมาตีพิมพ์เกี่ยวกับโทษที่จะเกิดขึ้นจากการบริโภคไขมันทรานส์

จากงานวิจัยหลายฉบับเผยว่า การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มาก ๆ จะมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญคอเลสเตอรอล เอนไซ์ตัวนี้มีชื่อว่า Cholesterol acyltransferase

ผลที่เกิดขึ้น คือ ระดับคอเลสเตอรอลหรือไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ในเลือดเพิ่มขึ้น ถ้าเพิ่มขึ้นมาก ๆ จะเกิดการสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบและแข็งและส่งผลต่อภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวอีกด้วย

โรคหัวใจและหลอดเลือด

ในปี 2557 คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular diseases) รวม 58,681 คน หรือเฉลี่ย ชั่วโมงละ 7 คน และหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิด LDL หรือไขมันชนิดเลวที่มาจากอาหารที่เรารับประทานเป็นประจำ โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันทรานส์ หรือ Trans fat

นอกจากนั้นไขมันทรานส์ยังส่งผลให้คอเลสเตอรอลหรือไขมันชนิดดี (HDL) โดยทำให้ HDL ลดลง โดยเจ้า HDL ตัวนี้มีสามารถในการช่วยขจัดคอเลสเตอรอลที่เกาะอยู่ตามหลอดเลือดได้

นอกจากนี้ยังมีโทษอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภคไขมันชนิดนี้ เช่น ตามมาทั้ง อัลไซเมอร์ โรคอ้วน มะเร็ง เบาหวาน ภาวะมีบุตรยาก ความดันโลหิตสูง ตับทำงานผิดปกติ เป็นต้น เพียงแต่ต้องรอผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อยืนยันเพิ่มเติม

อาหารที่มีไขมันทรานส์

จากที่เป็ดฟินิกซ์ตั้งคำถามไปข้างต้น ว่า เพื่อน ๆ คิดว่าเราสามรถพบไขมันชนิดนี้ได้จากที่ไหนบ้าง

ซึ่งแน่นอนว่า พบได้ในผลิตภัณฑ์เบเกอรีต่าง ๆ  เช่น ขนมปัง เค้ก พาย พัฟ เค้ก และคุกกี้  รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก เนยเทียมและเนยขาว และเครื่องดื่มสำเร็จรูป ประเภทที่ใส่ครีมเทียม นมข้นจืดและนมข้นหวาน

ชีสเค้ก

นอกจากนั้นยังพบในอาหารหรือขนมบางชนิดที่ผ่านกระบวนการทอด โดยใช้น้ำมันที่เติมไฮโดรเจนเข้าไป (กระบวนการที่เป็ดฟินิกซ์อธิบายไปข้างต้น) แล้วผ่านการทอดแบบน้ำมันท่วม แบบ Deep Fried (การทอดน้ำมันท่วม) ในความร้อนสูง  เพื่อให้มีรสสัมผัสที่กรอบ เช่น โดนัททอด ปาท่องโก๋  เฟรนช์ฟราย กล้วยทอด ถั่วทอด เป็นต้น

มันฝรั่งทอด

ต่อไปเป็ดฟินิกซ์จะเรียงลำดับอาหารที่พบไขมันทรานส์ปริมาณสูง ๆ มาให้กับเพื่อน ๆ

  • ไขมันทรานส์ในอาหารต่าง ๆ (ปริมาณ 100 กรัม)
  • โดนัทสอดไส้บาวาเรียน  พบประมาณ 675 มิลลิกรัม
  • เค้กเนย  พบประมาณ 400 มิลลิกรัม
  • เวเฟอร์เคลือบช็อกโกแลต พบประมาณ 396 มิลลิกรัม
  • พายทูน่า  พบประมาณ 395 มิลลิกรัม
  • เค้กไส้ครีมคัสตาร์ด พบประมาณ 378 มิลลิกรัม
  • ทอฟฟี่เค้ก พบประมาณ 373.7 มิลลิกรัม

พี่ปินิกซ์สรุป เกร็ดความรู้

           องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ ( FAO) แนะนำว่าปริมาณสูงสุดในการบริโภคไขมันทรานส์ต้องไม่เกิน 1%
ของค่าพลังงานต่อวัน (หรือประมาณ 2 กรัมต่อวัน )

อาหารคลีน

จากที่เป็ดฟินิกซ์ได้ตั้งคำถามไว้ข้างต้น ว่าถ้าขนม เบเกอรี่ เครื่องดื่ม มีไขมันทรานส์
แล้วนั่นหมายถึง เราไม่ควรทาน ขนม เบเกอรี่ เครื่องดื่มไปเลยหรือเปล่า

ของทอด

ตรงนี้ขึ้นอยู่ที่ทางผู้ผลิตได้ใช้ไขมันทรานส์ (เพื่อประหยัดงบประมาณ) หรือไม่
โดยปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายแห่งที่ออกมาประกาศว่าผลิตภัณฑ์ของตน ไม่ใช้ไขมันทรานส์ เช่น

เบเกอรี่ เฟรนช์ฟรายส์ แมคโดนัลด์
นมข้นหวาน นมข้นจืด (ตรามะลิ, เรือใบ, นกเหยี่ยว, มายบอย)
สาหร่ายทอดเถ้าแก่น้อย
มาร์การีน เบสท์ฟู้ดส์
ไก่ทอดเคเอฟซี
สูตรเบเกอรี่ เทสโก้โลตัส
มันฝรั่งทอด เลย์
พิซซ่า ฮัท ประเทศไทย
โดนัท คริสปี้ครีม

ดังนั้นหากจะเลือกทาน เป็ดฟินิกซ์แนะนำให้เพื่อน ๆ ดูข้างฉลากก่อนตัดสินใจนะคะ

วิธีการหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์

เนื่องจากไขมันทรานส์ค่อนข้างถูกนำมาใช้ในอาหารที่หลากหลายมาก ๆ แต่ว่าเราก็สามารถเลี่ยงการบริโภคไขมันชนิดนี้ได้ โดยลดอาหารที่มีส่วนประกอบของเนยเหลว เนยขาวหรือมาการีน  เลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำ หรือผ่านการทอดกรอบแบบ Deep Fried และเช็คฉลากทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารนั้นปราศจากไขมันทรานส์

ข้อควรระวังอีกอย่างที่เป็ดฟินิกซ์อยากเล่าให้ฟัง นั่นคือ คำว่า ไขมันทรานส์ 0 %

ไขมันทรานส์ 0 %

ไขมันทรานส์ 0 % เท่ากับ ไม่มีไขมันทรานส์หรือไม่ ?

บางครั้งจะพบคำว่า ไขมันทรานส์ 0 %

เป็ดฟินิกซ์ขอบอกก่อนเลยว่า trans fat 0 % ไม่ได้หมายถึง ไม่มีไขมันเลย เพราะตามกฎหมายแต่ละประเทศระบุว่าหากมีปริมาณไขมันทรานส์ไม่ถึง 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค สามารถใช้คำว่า trans fat 0 % ได้

ด้วยสาเหตุนี้ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเลย ห้ามผลิต นำเข้า จำหน่ายอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์เสียเลย

พี่ปินิกซ์สรุป สรุป

ไขมันชนิดนี้เป็นวายร้ายแห่งวงการสุขภาพที่แท้จริง ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ
ซ้ำร้ายยังส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ต่อสุขภาพ
แถมยังมักอยู่ในอาหารมากมาย

ดังนั้นจำเป็นอย่างมาก ที่เราจะต้องดูที่ฉลากข้างผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง
ก่อนเลือกบริโภคสินค้าทุกชิ้น

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  amprohealth.com  BDMS   www.fda.moph.go.th

    เซลล์เป็ด

    ขอบคุณที่อ่านบทความของปีนิกส์นะคะ

    ปีนิกซ์มีสิทธิพิเศษมอบให้คุณด้วยค่ะ