อาหารคีโต ใช้ไขมัน สู้ไขมัน
สำหรับบางคน แต้มบุญสูงสุด ๆ กินเป็นตันก็ไม่อ้วน กับบางคนหายใจที น้ำหนักก็เพิ่มแล้ว ความยุติธรรมหาไม่ได้โดยแท้ แต่โชคดีบนโลกนี้มี อาหารคีโต ที่ว่ากันว่า กินถูกวิธีสามารถช่วยสลายไขมันส่วนเกินที่สะสมได้
สังเกตไหมคะ
ขึ้นชื่อว่าไขมันแล้วนั้น เอาออกยากขนาดไหน
หลายคนพยายามลด วิธีแล้ว วิธีเล่าก็ไม่สามารถลดได้สักที ไม่ว่าจะอดอาหาร ออกกำลังกายก็ทำมาแล้วทั้งนั้น วันนี้เรามีวิธีการลดน้ำหนักอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมมาสักพักหนึ่งแล้ว นั่นคือ คีโตเจนิก ไดเอท ซึ่งหลายคนอาจเคยได้ยิน วิธีนี้กันมาบ้าง
สำหรับใครที่ยังไม่เคยได้ยินมาก่อน ขอแนะนำว่า ใน ๆ ทุก ครั้ง ที่ตั้งใจจะลดน้ำหนัก เราควรศึกษาวิธีการลดให้ดีก่อน
ขออธิบายเกี่ยวกับ อาหารคีโต ให้เข้าใจมากขึ้น
กินแบบคีโตเจนิก ทานอะไรได้บ้าง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการทานคีโต
“คีโตเจนิก ไดเอท” คือ
คีโตเจนิก ไดเอท (Ketogenic Diet) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า คีโต ไดเอท คือ วิธีการลดน้ำหนักรูปแบบหนึ่ง ที่ค่อนข้างจะต่างออกไปจากการลดน้ำหนักแบบอื่น ตรงที่ ไม่ต้องอดอาหารจนท้องร้องหรือไส้กิ่ว แต่ใช้วิธีการเลือกรับประทานอย่างเข้าใจ โดยมีสโลแกนว่า
ไขมัน ยิ่งกินยิ่งลด !
แค่ได้ยินก็ต้องร้องว้าว ! มีด้วยหรอ ยิ่งกิน ยิ่งลด
บอกเลยว่ามีแต่ไม่ใช่จะทานอะไรก็ได้ ต้องทานอย่างมีหลักการ โดยคีโตเจนิก ไดเอท คือ การกินอาหารที่เน้นที่ไขมันสูงเป็นหลัก รองลงมา คือ โปรตีน แต่อยากให้ลดลงจนถึงปริมาณที่น้อยมากที่สุด คือ อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด
เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล เหล่านี้ คือ ให้ทานในปริมาณที่น้อยมาก
เพื่อให้ร่างกายนั้นดึงเอาไขมันที่สะสมไว้มาใช้ ขออธิบายง่าย ๆ ว่า โดยปกติร่างกายจะเผาผลาญพลังงานโดยเริ่มจาก
Step ที่ 1 อาหารที่เราทานเข้าไปก่อนแต่หากเผาผลาญอาหารที่ทานเข้าไปเรียบร้อยแล้ว หากจะต้องมีการเผาผลาญพลังงานต่อ เช่น มีการออกกำลังกายต่อเนื่อง
ร่างกายเข้าสู่ Step ที่ 2 คือ เกิดการดึงกลูโคสหรือที่สะสมในรูปของไกลโคเจนมาเผาผลาญ แล้วหากเราใช้พลังงานต่อไปอีก
ในขณะที่ไกลโคเจนที่สะสมอยู่ในระดับที่ต่ำมาก Step ที่ 3 คือ ร่างกายเปลี่ยนโหมดจากการดึงไกลโคเจนแล้วหันไปดึงไขมันที่สะสมไว้มาแทน
นี่แหล่ะ ! เจ้าไขมันตัวนี้แหล่ะ ที่ทำให้เราอวบอ้วน หากเราสามารถทำให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมมาใช้ได้โดยไวหรือเข้า Step ที่ 3 ไว ๆ ร่างกายก็จะสลายไขมันที่สะสมได้อย่างรวดเร็ว
- วิธีแรก คือ ออกกำลังกายจนกระทั่งร่างกายเข้าโหมดดึงไขมันมาใช้ สามารถอ่านบทความเพิ่มเต็มได้ที่ ไขความเชื่อเกี่ยวกับการออกกำลังกาย
- วิธีที่สอง เลือกรับประทานโดย เลี่ยงคาร์โบไฮเดรต เพราะอาหารประเภทนี้ จะถูกเก็บสะสมในรูปไกลโคเจนดังนั้น คีโตเจนิก ไดเอท เปรียบได้กับการกระโดดข้าม แทนที่ร่างกายจะต้องเข้า Step ที่ 1 คือ ใช้อาหารที่กินแต่ละวัน
แล้วค่อยไป Step ที่ 2 คือดึงไกลโคเจน พอไกลเจนต่ำลงมาก ๆ ค่อยมา Step ที่ 3 ซึ่งต้องใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องมาก ๆ กว่าจะเข้า Step นี้
เกร็ดความรู้
คีโตเจนิก ไดเอทจึงเป็นทางลัดให้ร่างกาย เข้าสู่สภาวะคีโตซิส เรียกง่าย ๆ ว่า สภาวะบังคับให้ร่างกายดึงเอาไขมันมาใช้แล้วอาหารแบบไหนที่จะทำให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะคีโตซิส
อาหารคีโต
หลักการทานอาหารคีโต คือ ทานไขมันให้มากที่สุด ประมาณ 75 – 80 เปอร์เซ็นต์
โดยแบ่งเป็น ไขมันอิ่มตัว 30 เปอร์เซ็นต์
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 50 เปอร์เซ็นต์
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 20 เปอร์เซ็นต์
จากนั้นทานเป็นอาหารประเภทโปรตีนรองลงมา ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์
ส่วนคาร์โบไฮเดรตทานให้น้อยที่สุด ประมาณ 20 กรัมก็พอ
กินแบบคีโตเจนิก ทานอะไรได้บ้าง
อาหารแนะนำ
ไขมัน
น้ำมันทานได้หลายชนิด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว กะทิ เนย
ยกตัวอย่าง แกงกะทิ แกงเขียวหวาน เป็นต้น
อาหารประเภทเนื้อสัตว์
สำหรับเนื้อสัตว์ต้องเป็น เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องใน เบคอน ไส้กรอก อาหารทะเล
ยกตัวอย่าง หมูปิ้งไม่เอาข้าวเหนียว สเต๊กหมูไม่เอาเครื่องเคียงที่เป็นแป้ง ซอสก็เป็นซอสที่ไม่หวาน
ผัก
สามารถทานผักได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นชนิดที่จัดอยู่ประเภทแป้ง เช่น มัน เผือก แครอท มะละกอ มะม่วง เพราะสุดท้ายก็จะได้เป็นกลูโคส
และร่างกายก็จะต้องเข้าสู่การเผาผลาญไกลโคเจน Step ที่ 2 อยู่ดี
ยกตัวอย่าง สลัดที่น้ำสลัดไม่หวาน
นมและถั่ว
อาหารประเภทนม ครีม วิปครีมทานได้หมด ส่วนถั่วก็เป็นพวกอัลมอนด์ วอลนัท มะม่วงหิมพานต์ แมคคาเดเมีย เป็นต้น
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการทานคีโต
ต้องเข้าใจก่อนว่าโดยปกติร่างกายเราได้รับอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมาตลอด หมายถึงเราได้รับน้ำตาลมาตลอด
ในช่วงแรกของการลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้ ร่างกายจะโหยหาน้ำตาล ใน 2 – 3 วันแรก
อาการของการโหยหาน้ำตาล คือ จะรู้สึกอ่อนเพลีย คิดอะไรไม่ค่อยออก ท้องไส้ปั่นป่วนไปหมด จนถึงกระทั่งท้องผูก
หลังจากทานอาหารคีโต 1 – 2 อาทิตย์ ร่างกายจะเริ่มเข้าสู่การเผาผลาญพลังงาน Step ที่ 3 คือการดึงไขมันมาใช้เลย
แต่ก็อย่าเพิ่งดีใจ เพราะร่างกายยังแสดงอาการอยากอาหารอยู่บ้าง จนกระทั่งครบ 1 เดือน ร่างกายก็จะเข้าสู่สภาวะคีโตซีสและจดจำว่าต้องดึงไขมันมาใช้แทนกลูโคส
เมื่อถึงวันนั้น จะเข้าสู่สภาวะ ร่างกายจะใช้ไขมันในการไปเผาผลาญไขมัน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะลดควรต้องเข้าใจถึงสุขภาพของตนเอง