หญ้าหวาน น้ำตาลของคนยุคใหม่
ในยุคสมัยที่อาหารหาทานง่าย อยากทานอะไรก็กดสั่ง Delivery เดี๋ยวเดียวก็ได้ตามใจหวัง แทบไม่ต้องขยับตัวเลย แล้วแบบนี้ถ้าจะให้หุ่นเพรียวก็คงยากเหลือเกิน แต่ถ้าจะให้ลดการทานไปเลย ก็คงจะยากยิ่งกว่า
หากเราเลือกที่จะไม่ทานไม่ได้ ดังนั้นเราก็ต้องเลือกสิ่งที่จะทาน
เราจึงขอนำเสนอพระเอกแห่งวงการหวานนะ แต่ไม่อ้วนเนาะ นั่นคือ
เลือกหัวข้อที่น่าสนใจ
หญ้าหวาน สมุนไพรทางเลือก หวานได้ ไม่อ้วนด้วย
– สวัสดี เราคือหญ้าหวาน
– ประโยชน์ของหญ้าหวาน
– หญ้าหวานให้โทษ จริงหรือไม่ ?
– ปริมาณที่ควรรับประทาน
สวัสดี เราคือหญ้าหวาน
หลายคนพอจะคุ้นหูกับพืชชนิดนี้กันมาบ้าง ว่าเจ้าหญ้าหวานมีความหวานมาก
มีคุณสมบัติหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10 – 15 เท่า
ความหวานเหล่านี้ได้มาจากสารตัวหนึ่งที่อยู่ในหญ้าหวาน มีชื่อว่า สารสตีวิโอไซด์ บริเวณที่หวานมาก ๆ ก็คือบริเวณใบ และบริเวณใบนี้เองที่เราจะนำมาแปรรูปหรือทำเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อให้อยู่ได้นานและใช้ได้ง่าย เช่น นำใบมาอบแห้งหรือนำมาบด อาจจะเรียกว่า หญ้าหวานผง ที่นิยมนำมาใส่ในอาหารหรือเครื่องดื่มต่าง ๆ
สารที่สกัดมาให้ความหวานแทนน้ำตาลของหญ้าหวานตัวนี้
หวานกว่าน้ำตาลถึง 300 เท่า
หวานไม่ลืมหูลืมตา นอกจากจะหวานมากกว่าน้ำตาลแล้ว หญ้าหวานยังทนความร้อนด้วย ทำให้สามารถมาชงใส่ในกาแฟหรือเครื่องดื่มทานร้อนหลายชนิด
สาเหตุที่ทำให้หญ้าหวานเป็นที่นิยมชมชอบมากมายก็เพราะว่า ไม่มีแคลอรี่และไม่ให้พลังงานแม้แต่น้อย ทั้งยังไม่ใช่สารสังเคราะห์ขึ้นมา เพราะเป็นพืชที่ได้มาจากธรรมชาติ สมัยก่อนปลูกที่บราซิลและปารากวัย แต่ปัจจุบันสามารถปลูกได้แล้วที่ภาคเหนือของประเทศไทย
ประโยชน์ของหญ้าหวาน
เราอาจจะทราบว่า หญ้าหวาน ให้ความหวานแทนน้ำตาล แถมยังไม่ให้พลังงานแม้แต่น้อย นอกเหนือจากนั้นแล้ว ก็มีงานวิจัยเกี่ยวกับ สรรพคุณของหญ้าหวาน
- ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
- บำรุงตับอ่อน
- ลดไขมันในเส้นเลือด ส่งผลในแง่ดีต่อความดันโลหิต
- มีผลด้านการสมานแผลของร่างกายทั้งภายนอกและภายใน
- สามารถทานหวานแบบไม่ต้องกลัวอ้วน
หญ้าหวานให้โทษ จริงหรือไม่ ?
ใด ๆ ในโลกที่ให้ประโยชน์ก็ย่อมมีโทษเป็นสัจธรรม
แต่ในส่วนของหญ้าหวานนั้น ในอดีตเคยมีการกล่าวว่าส่งผลต่อการเป็นหมัน เนื่องจากชาวปารากวัยที่นิยมทานหญ้าหวานมาร่วมพันปี มีผลต่อการลดจำนวนของอสุจิและส่งผลต่อการเป็นหมัน
แต่ในปัจจุบันได้มีการทดลองหลายต่อหลายครั้ง เพื่อหักล้างงานวิจัยดังกล่าว และองค์กรอนามัยโลกได้ระบุว่า สมุนไพรตัวนี้ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด จึงสามารถเข้ามาจำหน่วยในประเทศไทยได้
บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ – โทษของหญ้าหวาน
ปริมาณที่ควรรับประทาน
มีงานวิจัยของอาจารย์วีรสิงห์ เมืองมั่น เกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสมของการทานหญ้าหวาน
1 – 2 ใบ ต่อการชงกับเครื่องดื่ม 1 แก้ว
เทียบเท่ากับ 7.9 กรัม/วัน
เปรียบได้การชงกินกับกาแฟ 73 ถ้วย/วัน
สรุป
หญ้าหวานจึงเป็นสารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลที่เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณ หากทานในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน
หากใครที่อยากจะลดน้ำหนัก การหันมาใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลถือเป็นอีกทางเลือกที่จะไม่เพิ่มแคลอรี่ให้กับร่างกาย