โรคเก๊าท์
” อย่ากินไก่เยอะ เดี๋ยวเป็น โรคเก๊าท์ “
หลายคนคงเคยได้ยินประโยคนี้กันมาบ้าง
ประโยคนี้เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินกันมาบ้าง
เพื่อน ๆ คิดว่า การทานไก่ส่งผลต่อการเป็นเก๊าท์จริงหรือไม่ ?
แล้วเฉพาะ อาหารประเภทไก่เท่านั้นหรือเปล่าที่มีผลทำให้เป็นเก๊าท์
วันนี้เราจะมาตอบคำถามเรื่องนี้กัน
การกินไก่กับโรคเก๊าท์
เก๊าท์ (Gout) เกิดจากอะไร
ไก่กับเก๊าท์ เก๊าท์กับไก่
อาหารที่มีสารพิวรีนสูงและคนเป็นโรคเก๊าท์ควรหลีกเลี่ยง
อาการที่เกิดขึ้น
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักโรคนี้กันก่อนดีกว่า
เก๊าท์ (Gout) เกิดจากอะไร
โรคเก๊าท์ มักเกิดจากมีสารตัวหนึ่งถูกสะสมในเลือดด้วยความเข้มข้นที่สูงเกินความต้องการ (Hyperuricemia) และสะสมมาเป็นระยะเวลาที่นานมาก
อาจจะนานถึง 20 ปีเลยทีเดียว โดยสารตัวนี้มีชื่อว่า กรดยูริก
ปกติแล้วในร่างกายจะมีกรดตัวนี้อยู่แล้ว หากมีมากเกินไปก็จะถูกขับออก
โดยอวัยวะที่เรารู้จักกันดีว่าทำหน้าที่กรองสาร นั่นคือ ไต และขับออกผ่านทางปัสสาวะ
ในการปัสสาวะของเรา 1 ครั้ง ก็จะกำจัดของเสียต่าง ๆ ของร่างกายออกไปรวมถึง กรดยูริกตัวนี้ด้วย
แต่ในบางครั้งที่ไต เกิดการขับกรดยูริกออกไปจากร่างกายได้น้อย ส่งผลให้เกิดการสะสมในร่างกายสูงเกินความจำเป็น
ทั้งยังสามารถเกิดการตกผลึกสะสมอยู่บริเวณข้อต่าง ๆ ทั้งข้อเท้า ข้อต่อนิ้วเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อศอก
เกิดเป็นการอักเสบบริเวณข้อ จนเกิดเป็นโรคเก๊าท์นั่นเอง และพบว่ามักเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์และเพศ
โดยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 2 เท่า
ไก่กับเก๊าท์ เก๊าท์กับไก่
ต่อมาเรามาดูกันดีกว่าว่า เพราะไก่ใช่ไหมที่เป็นสาเหตุหลัก
จากที่ทราบกันไปแล้วว่า สาเหตุนั้นมาจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกสูงเกินความจำเป็น
ซึ่งร่างกายได้รับกรดยูริกมาจากการสลายสารพิวรีน (Purines) ทั้งในร่างกายและจากอาหารที่ทานเข้าไป
ซึ่งในไก่ก็มีสารพิวรีน แต่ไม่ได้มากมายขนาดที่จะเกิดประโยค กินไก่แล้วเป็นเก๊าท์
เพราะถ้าจะเปรียบเทียบกันแล้ว สารพิวรีนในไก่ ก็มีพอ ๆ กับ ในเนื้อสัตว์ชนิดอื่น
ที่สำคัญ ใครก็ตามที่ไม่ได้เป็นเก๊าท์อยู่แล้วหรือไม่มีกรรมพันธุ์เป็นโรคนี้การทานไก่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อการเป็นเก๊าท์
อาหารที่มีสารพิวรีนสูงและคนเป็นโรคเก๊าท์ควรหลีกเลี่ยง
นอกจากไก่แล้ว อาหารที่ส่งผลต่อโรคนี้
โดยขอแบ่งเป็น
1. อาหารที่ทำให้เกิดกรดยูริกสูงมาก อาจสูงถึง 150 มิลลิกรัม ได้แก่ เครื่องใน ตับ น้ำต้มเนื้อ ป น้ำเกรวี่ ซุปไก่เข้มข้น และยอดผัก เป็นต้น
2. อาหารที่ทำให้เกิดกรดยูริกสูงปานกลาง ประมาณ 50 – 150 มิลลิกรัม อาหารประเภทต่อมาที่อาจนึกไม่ถึงว่าส่งผลต่อโรคดังกล่าว เช่น ปลาไส้ตัน น้ำปลาหรือกะปิจากปลาไส้ตัน อาหารทะเล ตลอดจนถั่ว ทั้งถั่วดำ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง เห็ด หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม กระถิน ชะอม เป็นต้น
3. อาหารที่ทำให้เกิดกรดยูริกสูง ประมาณ 0 – 15 มิลลิกรัม เช่น ผัก ผลไม้ เนน นม ขนมปัง น้ำตาล น้ำหวาน เป็นต้น
อาการที่เกิดขึ้น
หลายคนสงสัยว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีโอกาสเป็นเก๊าท์หรือไม่
เมื่อกรดยูริตกผลึกและสะสมตามข้อต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการอักเสบและปวดแสบปวดร้อนตามข้อต่าง ๆ
อาจจะเกิดแค่ข้อต่อเดียว หรือหลาย ๆ ข้อพร้อมกันได้
มักจะเกิดอาการเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน
โดยจะเริ่มจากมีการปวดและอักเสบรุนแรงเฉียบพลัน จะปวดและทรมาณอย่างมากในช่วง 24 ชั่วโมง
เริ่มแรกมักเกิดเพียง 1 – 2 บริเวณ แต่หากไม่รับเข้ารับการรักษา จำนวนข้อต่อที่อักเสบจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ดังนั้นทางที่ดีคือ ควรไปพบแพทย์เพื่อเจาะข้อ เจาะเลือด เอกซเรย์หรือกระบวนการต่าง ๆ
แม้ว่าโรคนี้จะไม่สามารถฟันธงที่มาได้อย่างชัดเจน
แต่หากเราเป็นโรคนี้ วิธีการที่ควรปฏิบัติอย่างเบื้องต้นคือ
1 ต้องดื่มน้ำมาก ๆ เพราะจากที่กล่าวข้างต้น ปกติร่างกายจะขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ
2. หลีกเลี่ยงเคื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ เพราะอาหารที่ได้มาจากการหมักยัสต์ มีสารพิวรูนปริมาณสูง
3. ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่หวานมาก ๆ โดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรักโตส
ดังนั้นหากใครที่มีครบครัวที่เป็นโรคนี้ก็ควรไปปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
หากใครมีคำถามเกี่ยวกับการดูแล รักษาสุขภาพสามารถสอบถามฟรีได้ที่ CleanFoodLeanDiet